วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ความรู้เพิ่มเติมวันนี้ ว่าด้วยเรื่อง "นายบุญผ่อง"


ถึงแม้ตัวผู้สร้างบล็อกจะเรียนที่โรงเรียนวังไกลกังวล แต่ตัวบล็อกเกอร์ิเองนั้นเป็นชาวกาญจนบุรีโดยกำเหนิด จึงข้อนำเสนอเรื่องราวของ"นายบุญผ่อง สิริเวชชะพันธ์" ซึ่งเมื่ออาทิตย์ก่อนคุณครูสอนฝรั่งเศสของบล็อกเกอร์ได้ถามเกี่ยวกับบุลคลในหัวข้อ ว่านายบุญผ่องคือใคร  งานเข้าบล็อกเกอร์ละสิ เป็นคนเมืองกาญฯแท้ๆไม่รู้ซะนี่ เลยต้องหาข้อมูลมาอัปเดทสักหน่อยแล้วค่ะ


พันโทบุญผ่อง สิริเวชชะพันธ์   อดีตนักธุรกิจและนายกเทศมนตรีเมืองกาญจนบุรี ผู้มีส่วนช่วยเหลือเชลยสัมพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
เกิดเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2449 ที่ตลาดปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เป็นบุตรชายคนโตในบรรดาบุตรทั้งหมด 7 คน ของ นายแพทย์ขุนสิริเวชชะพันธุ์ (เขียน สิริเวชชะพันธุ์) กับนางลำเจียก และเป็นพี่ชายแท้ ๆ ของ นายแผน สิริเวชชะพันธ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี (ส.ส.กาญจนบุรี) 3 สมัย และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในปี พ.ศ. 2518 มีพี่น้องทั้งหมด 7 คน ดังนี้
1. พันโทบุญผ่อง สิริเวชชะพันธ์
2. นายแผน สิริเวชชะพันธ์
3. นายผล สิริเวชชะพันธ์
4. นายผวน สิริเวชชะพันธ์
5. นางบุหงา เจริญรัถ
6. นายศิลป์ สิริเวชชะพันธ์
7. นางบุปผา กฤษณามระ
พันโทบุญผ่อง จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนวิสุทธรังษี โรงเรียนประจำจังหวัดกาญจนบุรีแล้วได้ไปศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จบการศึกษาเมื่อ พ.ศ. 2469 หลังจากนั้นได้เข้ารับราชการที่กรมรถไฟเป็นเวลา 8 ปี จึงลาออกมาประกอบอาชีพค้าขายกับบิดาและพี่น้อง ๆ ที่บ้านจังหวัดกาญจนบุรี โดยเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญของครอบครัว ต่อมาได้สมรสกับ นางสุรัตน์ สิริเวชชะพันธ์ (นามสกุลเดิม: ชอุ่มพฤษ์) ทั้งคู่มีบุตรสาวด้วยกันทั้งหมด 1 คน คือ นางผณี ศุภวัฒน์
ต่อมานายบุญผ่อง ได้ลงสมัครเป็นนายกเทศมนตรีเมืองกาญจนบุรี และได้ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองกาญจนบุรี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2483-พ.ศ. 2485 นับเป็นนายกเทศมนตรีคนที่ 3 ของเมืองกาญจนบุรี ซึ่งอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองพอดี ซึ่งนายบุญผ่องขณะนั้นมีอายุเพียง 40 ปี
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นมีแผนในการสร้างทางรถไฟเพื่อที่จะตัดต่อไปยังประเทศพม่า จึงมีการต้อนเชลยศึกซึ่งส่วนใหญ่เป็นทหารสัมพันธมิตรชาติอังกฤษ, ออสเตรเลีย และเนเธอร์แลนด์ และสิงคโปร์มาที่กาญจนบุรีเพื่อสร้างทางรถไฟ จึงได้มาติดต่อขอซื้ออาหารจากร้านบุญผ่องแอนด์บราเดอร์ ซึ่งเป็นกิจการของครอบครัว ของนายบุญผ่อง เพื่อให้ไปส่งถึงที่ค่ายที่บริเวณเขาช่องไก่ เลียบแม่น้ำแควน้อย (ช่องเขาขาด ในปัจจุบัน) นายบุญผ่องเมื่อได้เข้าไปถึงในค่ายเห็นสภาพความเป็นอยู่ของเชลยแล้วพบว่า มีความเป็นที่อยู่ที่ทรมานอย่างยิ่ง ส่วนใหญ่บาดเจ็บล้มป่วยจากโรคมาเลเรียและการทำงานหนัก แต่ไม่มียารักษา จากสภาพแวดล้อมที่เป็นป่าดิบทึบ มีเชลยที่ต้องเสียชีวิตจากการนี้เป็นจำนวนมาก นายบุญผ่องจึงแอบลักลอบนำยาตลอดจนอาหารและจดหมายติดต่อต่าง ๆ เข้าไปยังค่ายก่อสร้าง โดยซ่อนไว้ในหีบห่อหรือบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ แม้จะต้องเสี่ยงต่อชีวิต ซึ่งในครั้งหลัง ๆ นายบุญผ่องได้ให้บุตรสาวเพียงคนเดียวเอาเข้าไปให้แทน จากการที่สร้างมิตรภาพแก่ทหารญี่ปุ่น จนได้รับความไว้วางใจ กระทั่งได้รู้จักกับ น.พ.เอ็ดเวิร์ด "เวรี่" ดันล็อป แพทย์ทหารชาวออสเตรเลีย หนึ่งในเชลยศึก
หลังสงครามยุติ นายบุญผ่องได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และได้รับยศ พันโท (พ.ท.) และ น.พ.ดันล็อปได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นท่านเซอร์ จากรัฐบาลอังกฤษและเนเธอร์แลนด์ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นท่านเซอร์ และทั้งคู่ได้ร่วมกันก่อตั้งมูลนิธิ "Weary Dunlop Boon Pong Exchange Fellowship" ซึ่งเป็นมูลนิธิที่ให้ทุนแก่นักศึกษาแพทย์ชาวไทย โดยเฉพาะศัลยแพทย์ ไปศึกษาต่อด้านแพทยศาสตร์ที่ประเทศออสเตรเลีย
วีรกรรมที่พันโทบุญผ่องได้สร้างไว้ ทำให้ได้รับการยกย่องอย่างมากจากชาติสัมพันธมิตร และได้รับฉายาจาก น.พ.ดันล็อปว่า "The Quiet Lions" (สิงโตเงียบ) เนื่องจากในช่วงต้นที่ติดต่อกันนั้น พันโทบุญผ่องต้องระมัดระวังตัวมาก โดยหลังสงคราม ได้เดินทางเข้าสู่กรุงเทพมหานคร เพื่อประกอบกิจการรถเมล์ ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ตอบแทนน้ำใจนายบุญผ่อง ด้วยการมอบรถที่ยึดได้จากกองทัพญี่ปุ่นเกือบ 200 คัน ให้ไปเป็นรถประกอบกิจการ ในนาม บริษัท บุญผ่อง จำกัด เรียกกันว่า รถเมล์สายสีน้ำเงิน นับเป็นคู่แข่งรถเมล์ขาวของบริษัท นายเลิศ ของนายเลิศ เศรษฐบุตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น