วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

มหาวิหารนอร์ทเทรอะ ดาม แห่งฝรั่งเศส

             มหาวิหารนอร์ทเทรอะ ดาม  เป็นมหาวิหารที่เก่าแก่ และตั้งอยู่คู่กับประเทศฝรั่งเศสมาเป็นเวลานานมากแล้ว  แต่ถึงอย่างไร มหาวิหารนอร์ทเทรอะ ดาม ก็ยังคงคุณค่า  คงความสวยงามและตั้งตระหง่านมาจนปัจจุบัน และในปีค.ศ.2013นี้ เป็นปีที่ฉลองวันครบรอบ 850 ปี แห่งการสร้างโบสถ์นอร์ทเทรอะ ดาม  ซึ่งน่าจะฉลองกันภายในเดือนธันวาคมของปีนี้  นับเป็นเรื่องน่ายินดีอย่างยิ่งสำหรับชาวฝรั่งเศสเลยล่ะค่ะ



     อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส (ฝรั่งเศสCathédrale Notre-Dame de Paris ) หรือ มหาวิหารน็อทร์-ดามเป็นอาสนวิหารประจำอัครมุขมณฑลปารีส ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส คำว่า Notre Dame แปลว่า พระแม่เจ้า (Our Lady) ซึ่งเป็นคำที่ชาวคาทอลิกใช้เรียกพระนางมารีย์พรหมจารี ปัจจุบันอาสนวิหารก็ยังใช้เป็นโบสถ์โรมันคาทอลิกและเป็นที่ตั้งคาเทดราของอาร์ชบิชอปแห่งปารีส มหาวิหารน็อทร์-ดามถือกันว่าเป็นโบสถ์ที่สวยงามที่สุดในลักษณะกอทิกแบบฝรั่งเศส โบสถ์นี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์โดยเออแฌน วียอแล-เลอ-ดุก ผู้เป็นสถาปนิกคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งของฝรั่งเศส
                   การก่อสร้างเป็นแบบกอทิก นับเป็นมหาวิหารแรกที่สร้างในลักษณะนี้ และการก่อสร้างก็ทำต่อเนื่องมาตลอดสมัยกอทิก ประติมากรรม และหน้าต่างประดับกระจกสี (stained glass) มีอิทธิพลจากศิลปะแบบแนทเชอราลลิสม์ ทำให้แตกต่างจากศิลปะโรมาเนสก์ที่สร้างก่อนหน้านั้น


                น็อทร์-ดามเป็นหนึ่งในบรรดาสิ่งก่อสร้างแรกที่ใช้ "ครีบยันลอย" ตามแบบเดิมไม่ได้บ่งถึงกำแพงค้ำยันรอบมหาวิหาร "บริเวณร้องเพลงสวด" หรือ รอบบริเวณกลางโบสถ์ เมื่อเริ่มสร้างกำแพงโบสถ์สูงขึ้นกำแพงก็เริ่มร้าวเพราะน้ำหนักของสิ่งก่อสร้าง เพราะสถาปนิกสมัยกอทิกจะเน้นการสร้างสิ่งก่อสร้างที่สูง บาง และโปร่ง เมื่อสร้างสูงขึ้นไปกำแพงก็ไม่สามารถรับน้ำหนักและความกดดันของกำแพงและหลังคาได้ทำให้กำแพงโก่งออกไปและร้าว สถาปนิกจึงใช้วิธีแก้ด้วยการเติม "กำแพงค้ำยัน" ที่กางออกไปคล้ายปีกนกด้านนอกตัววัด เพื่อให้กำแพงค้ำยันนี้หนุนหรือค้ำกำแพงตัวโบสถ์เอาไว้ เมื่อทำไปแล้วนอกจากจะมีประโยชน์ทางการใช้สอยแล้วยังกลายเป็นเครื่องตกแต่งที่ทำให้สิ่งก่อสร้างความสวยงามขึ้น ฉะนั้นวิธีแก้ปัญหานี้จึงกลายเป็นเอกลักษณ์ส่วนหนึ่งของโบสถ์ที่สร้างแบบกอทิกไปในตัว

                     ราวปี ค.ศ. 1790 ระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส โบสถ์ก็ได้รับความเสียหายอย่างหนัก ประติมากรรมและศิลปะทางศาสนาถูกทำลายไปมาก มหาวิหารได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 จนมีสภาพเหมือนก่อนหน้าที่ถูกทำลาย
              เมื่อปี ค.ศ. 1160 บิชอปมอริส เดอ ซูว์ยี (Maurice de Sully) ได้รับแต่งตั้งให้เป็นบิชอปแห่งปารีส ท่านเห็นว่าโบสถ์ที่ตั้งอยู่เดิมไม่สมฐานะ จึงสั่งให้รื้อทิ้งไม่นานหลังจากที่ท่านได้รับตำแหน่งใหม่ ตามตำนานว่ากันว่าบิชอปเห็นภาพลักษณ์ของมหาวิหารแห่งปารีสอันสวยงาม ท่านจึงรีบร่างแบบที่เห็นไว้บนทรายนอกโบสถ์เดิม ก่อนจะสร้างวิหารใหม่ก็ต้องรื้อบ้านเรือนบริเวณนั้นออกไปหลายหลัง และต้องสร้างถนนใหม่เพื่อจะได้สะดวกต่อการขนวัสดุก่อสร้างได้สะดวก
มหาวิหารเริ่มสร้างเมื่อปี ค.ศ. 1163 ระหว่างรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 ส่วนที่จะว่าใครเป็นผู้วางศิลาฤกษ์นั้นไม่แน่ บางหลักฐานก็ว่าบิชอปซุลยีเอง บางหลักฐานก็ว่าสมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 3 เป็นผู้วาง แต่ที่แน่คือทั้งคนเข้าร่วมพิธีวางศิลาฤกษ์ ตั้งแต่นั้นมาบิชอปซุลยีก็อุทิศชีวิตให้กับการสร้างมหาวิหารนี้
       เริ่มการก่อสร้างทางด้านหน้าหรือด้านตะวันตก (west front) ซึ่งมีหอคอยสองหอ เมื่อราวปี ค.ศ. 1200 ก่อนที่จะสร้างโถงกลางของตัวโบสถ์เสร็จ ซึ่งไม่ตรงกับหลักการสร้างสิ่งก่อสร้างตามแบบฉบับ โบสถ์นี้มีสถาปนิกหลายคนที่มีส่วนในการก่อสร้าง จะเห็นได้จากความเปลี่ยนแปลงของรูปทรงไปตามสมัยนิยมของสถาปนิก เป็นต้นว่าหอสองหอทางด้านตะวันตกจะไม่เท่ากัน

ระหว่างปี ค.ศ. 1210 ค.ศ. 1220 สถาปนิกคนที่สี่เป็นผู้ดุแลการสร้างระดับหน้าต่างกลมและโถงภายใต้หอ หอสร้างเสร็จเมื่อปี ค.ศ. 1245 และมหาวิหารเมื่อปี ค.ศ. 1345

มหาวิหารพาร์เธนอน


The Parthenon

          วิหารพาร์เธนอน          เป็นวิหารที่ถูกสร้างขึ้นโดยสร้างตามการริเริ่มของเพริเคิล ผู้นำกรุงเอเธนส์ในสมัยนั้น และสร้างโดยมีประติมากรฟีเดียสเป็นผู้ควบคุมงาน การก่อสร้างเริ่มขึ้นเมื่อ 447 ปีก่อนคริสต์ศักราช ถึงแม้ว่าการก่อสร้างจะเสร็จสมบูรณ์เมื่อ 438 ปีก่อนคริสต์ศักราชแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีการตกแต่งเพิ่มเติมอีก 5 ปี เพื่ออุทิศแด่เทพีอาธีนาซึ่ง ซึ่งเป็น เทพีประจำเมืองเอเธนส์แต่ไหนแต่ไรมา คำว่า “พาร์เธนอน” แปลว่าห้องแห่งเทพีพหรมจารี (Hall of the virgin goddess) วิหารโบราณแห่งนี้มีความเก่าแก่มากกว่า 2,600 ปี ตั้งอยู่อะโครโปลิส (แปลว่าจุดสูงสุดของเมือง) ใจกลางกรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ ซึ่งแม้ว่าวิหารพาร์เธอนอนจะเหลือเพียงแต่ซากปรักหักพัง แต่เราก็ยังสามารถที่จะจินตนาการถึงความยิ่งใหญ่ในอดีตได้เป็นอย่างดี
                เนินอะโครโปลิสที่เป็นที่ตั้งของวิหารพาร์เธนอนนี้อยู่บนเนินเขาพัลลาส(Pallas) ซึ่งสูงจากพื้นราบ 60-70 เมตร พื้นที่บนยอดเขาประมาณ 45,000 ตารางเมตร ตั้งแต่ประมาณศตวรรษที่ 14 ก่อน คริสตกาล (1,400 ปี ก่อน คริสตกาล) ก็มีการสร้างพระราชวังบนเนินแห่งนี้แล้ว โดยที่วิหารพาร์เธนอนที่เห็นเป็นซากอยู่ในปัจจุบันเป็นวิหารรุ่นที่ 3 ที่สร้างทับซ้อนบนรากฐานเดิมของวิหารรุ่นที่ 2 ก่อนหน้า วิหารรุ่นแรกนั้นสร้างเมื่อประมาณ 500 กว่าปี ก่อนคริสตกาล และได้พังทลายลงไป จึงได้มีการเริ่มสร้างรุ่นที่ 2 ขึ้นในปี 490 ก่อนคริสตกาล แต่เหมือนเคราะห์ซ้ำกรรมซัดเพราะได้ถูกกองทัพของพวกเปอร์เซียเผาทำลายไปอีกครั้งหนึ่ง ตั้งแต่ยังก่อสร้างไม่เสร็จดี   แต่ว่าชาวเอเธอส์ก็ยังไม่ละความพยายามในการสร้าง วิหารพาร์เธนอนจึงเริ่มก่อสร้างอีกครั้งเป็นรุ่นที่ 3  ประมาณช่วงปี 447 ก่อน ค.ศ. ซึ่งนับเวลาจนกระทั่งถึงตอนนี้ก็ ประมาณ 2,500 ปี เห็นจะได้
วิหารพาร์เธนอนถูกสร้างขึ้นด้วยหินอ่อน ขนาดยาวประมาณ 70 เมตร กว้าง 30 เมตร ด้านกว้างประกอบด้วยด้วยเสา 8 ต้น ด้านยาว 17 ต้น เสาแต่ละต้นสูง 10.5 เมตร ลักษณะของเสาเป็นลักษณะเฉพาะคือจะปล่องออกตรงกลางซึ่งเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับ 2 เมตร และ ตรงปลายทั้งสองด้านเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับ 1.5 เมตร โดยในการก่อสร้างเสาแต่ต้น ชาวเอเธนส์จะแบ่งเสาเป็นข้อๆ เหมือนเค้ก แล้วมาวางซ้อนกัน 10 -12 ชั้น

ความรู้เพิ่มเติมวันนี้ ว่าด้วยเรื่อง "นายบุญผ่อง"


ถึงแม้ตัวผู้สร้างบล็อกจะเรียนที่โรงเรียนวังไกลกังวล แต่ตัวบล็อกเกอร์ิเองนั้นเป็นชาวกาญจนบุรีโดยกำเหนิด จึงข้อนำเสนอเรื่องราวของ"นายบุญผ่อง สิริเวชชะพันธ์" ซึ่งเมื่ออาทิตย์ก่อนคุณครูสอนฝรั่งเศสของบล็อกเกอร์ได้ถามเกี่ยวกับบุลคลในหัวข้อ ว่านายบุญผ่องคือใคร  งานเข้าบล็อกเกอร์ละสิ เป็นคนเมืองกาญฯแท้ๆไม่รู้ซะนี่ เลยต้องหาข้อมูลมาอัปเดทสักหน่อยแล้วค่ะ


พันโทบุญผ่อง สิริเวชชะพันธ์   อดีตนักธุรกิจและนายกเทศมนตรีเมืองกาญจนบุรี ผู้มีส่วนช่วยเหลือเชลยสัมพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
เกิดเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2449 ที่ตลาดปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เป็นบุตรชายคนโตในบรรดาบุตรทั้งหมด 7 คน ของ นายแพทย์ขุนสิริเวชชะพันธุ์ (เขียน สิริเวชชะพันธุ์) กับนางลำเจียก และเป็นพี่ชายแท้ ๆ ของ นายแผน สิริเวชชะพันธ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี (ส.ส.กาญจนบุรี) 3 สมัย และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในปี พ.ศ. 2518 มีพี่น้องทั้งหมด 7 คน ดังนี้
1. พันโทบุญผ่อง สิริเวชชะพันธ์
2. นายแผน สิริเวชชะพันธ์
3. นายผล สิริเวชชะพันธ์
4. นายผวน สิริเวชชะพันธ์
5. นางบุหงา เจริญรัถ
6. นายศิลป์ สิริเวชชะพันธ์
7. นางบุปผา กฤษณามระ
พันโทบุญผ่อง จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนวิสุทธรังษี โรงเรียนประจำจังหวัดกาญจนบุรีแล้วได้ไปศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จบการศึกษาเมื่อ พ.ศ. 2469 หลังจากนั้นได้เข้ารับราชการที่กรมรถไฟเป็นเวลา 8 ปี จึงลาออกมาประกอบอาชีพค้าขายกับบิดาและพี่น้อง ๆ ที่บ้านจังหวัดกาญจนบุรี โดยเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญของครอบครัว ต่อมาได้สมรสกับ นางสุรัตน์ สิริเวชชะพันธ์ (นามสกุลเดิม: ชอุ่มพฤษ์) ทั้งคู่มีบุตรสาวด้วยกันทั้งหมด 1 คน คือ นางผณี ศุภวัฒน์
ต่อมานายบุญผ่อง ได้ลงสมัครเป็นนายกเทศมนตรีเมืองกาญจนบุรี และได้ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองกาญจนบุรี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2483-พ.ศ. 2485 นับเป็นนายกเทศมนตรีคนที่ 3 ของเมืองกาญจนบุรี ซึ่งอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองพอดี ซึ่งนายบุญผ่องขณะนั้นมีอายุเพียง 40 ปี
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นมีแผนในการสร้างทางรถไฟเพื่อที่จะตัดต่อไปยังประเทศพม่า จึงมีการต้อนเชลยศึกซึ่งส่วนใหญ่เป็นทหารสัมพันธมิตรชาติอังกฤษ, ออสเตรเลีย และเนเธอร์แลนด์ และสิงคโปร์มาที่กาญจนบุรีเพื่อสร้างทางรถไฟ จึงได้มาติดต่อขอซื้ออาหารจากร้านบุญผ่องแอนด์บราเดอร์ ซึ่งเป็นกิจการของครอบครัว ของนายบุญผ่อง เพื่อให้ไปส่งถึงที่ค่ายที่บริเวณเขาช่องไก่ เลียบแม่น้ำแควน้อย (ช่องเขาขาด ในปัจจุบัน) นายบุญผ่องเมื่อได้เข้าไปถึงในค่ายเห็นสภาพความเป็นอยู่ของเชลยแล้วพบว่า มีความเป็นที่อยู่ที่ทรมานอย่างยิ่ง ส่วนใหญ่บาดเจ็บล้มป่วยจากโรคมาเลเรียและการทำงานหนัก แต่ไม่มียารักษา จากสภาพแวดล้อมที่เป็นป่าดิบทึบ มีเชลยที่ต้องเสียชีวิตจากการนี้เป็นจำนวนมาก นายบุญผ่องจึงแอบลักลอบนำยาตลอดจนอาหารและจดหมายติดต่อต่าง ๆ เข้าไปยังค่ายก่อสร้าง โดยซ่อนไว้ในหีบห่อหรือบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ แม้จะต้องเสี่ยงต่อชีวิต ซึ่งในครั้งหลัง ๆ นายบุญผ่องได้ให้บุตรสาวเพียงคนเดียวเอาเข้าไปให้แทน จากการที่สร้างมิตรภาพแก่ทหารญี่ปุ่น จนได้รับความไว้วางใจ กระทั่งได้รู้จักกับ น.พ.เอ็ดเวิร์ด "เวรี่" ดันล็อป แพทย์ทหารชาวออสเตรเลีย หนึ่งในเชลยศึก
หลังสงครามยุติ นายบุญผ่องได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และได้รับยศ พันโท (พ.ท.) และ น.พ.ดันล็อปได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นท่านเซอร์ จากรัฐบาลอังกฤษและเนเธอร์แลนด์ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นท่านเซอร์ และทั้งคู่ได้ร่วมกันก่อตั้งมูลนิธิ "Weary Dunlop Boon Pong Exchange Fellowship" ซึ่งเป็นมูลนิธิที่ให้ทุนแก่นักศึกษาแพทย์ชาวไทย โดยเฉพาะศัลยแพทย์ ไปศึกษาต่อด้านแพทยศาสตร์ที่ประเทศออสเตรเลีย
วีรกรรมที่พันโทบุญผ่องได้สร้างไว้ ทำให้ได้รับการยกย่องอย่างมากจากชาติสัมพันธมิตร และได้รับฉายาจาก น.พ.ดันล็อปว่า "The Quiet Lions" (สิงโตเงียบ) เนื่องจากในช่วงต้นที่ติดต่อกันนั้น พันโทบุญผ่องต้องระมัดระวังตัวมาก โดยหลังสงคราม ได้เดินทางเข้าสู่กรุงเทพมหานคร เพื่อประกอบกิจการรถเมล์ ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ตอบแทนน้ำใจนายบุญผ่อง ด้วยการมอบรถที่ยึดได้จากกองทัพญี่ปุ่นเกือบ 200 คัน ให้ไปเป็นรถประกอบกิจการ ในนาม บริษัท บุญผ่อง จำกัด เรียกกันว่า รถเมล์สายสีน้ำเงิน นับเป็นคู่แข่งรถเมล์ขาวของบริษัท นายเลิศ ของนายเลิศ เศรษฐบุตร